ปกติแล้วการนับอายุงานต่อเนื่องกรมสรรพากรให้นับได้เฉพาะที่ทำงานสุดท้ายเท่านั้น แต่จากข้อหารือนี้ (ปี 2555) จะพบว่า การใช้สิทธิแยกยื่นเพื่อเสียภาษีสำหรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนับอายุงานต่อเนื่องได้ ให้นับอายุงานในบริษัทผู้โอนกับบริษัทผู้รับโอน (กรณีไม่มีการโอนเงินกองทุนจะไม่สามารถนับอายุงานต่อเนื่องได้) เลขที่หนังสือ : กค 0702/8892 วันที่ : 5 ตุลาคม 2555 เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการนับอายุงานสำหรับการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1) (2) มาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือ 1. บริษัท เอ. (นายจ้าง) ซึ่งเป็นนายจ้างของกองทุนฯ มีข้อตกลงเกี่ยวกับการรับพนักงานชาวต่างชาติที่โอนมาจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเข้ามาเป็นพนักงานของนายจ้าง โดยให้นับอายุงานที่พนักงานปฏิบัติงานมากับบริษัทแม่ในต่างประเทศต่อเนื่องกับอายุงานที่ทำกับนายจ้างเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากนายจ้างเสมือนพนักงานทั่วไป รวมถึงสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย แต่ไม่ได้โอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในต่างประเทศมายังกองทุนในประเทศไทย เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(สำนักงาน ก.ล.ต.) ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตีความว่า เงินที่จะโอนเข้ามายังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นั้นต้องเป็นเงินที่โอนมาจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเท่านั้นต่อมาพนักงานชาวต่างชาติดังกล่าวได้ลาออกจากงานหรือกลับไปปฏิบัติงานที่บริษัทแม่ในต่างประเทศโดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานกับบริษัทนายจ้างในต่างประเทศเป็นเวลา 4 ปี และมีระยะเวลาปฏิบัติงานกับนายจ้างในประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี รวมระยะเวลาปฏิบัติงานกับนายจ้างทั้งสองแห่งต่อเนื่องกันเป็นเวลา…
Category: ข้อหารือภาษีอากร
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน กรณีจ่ายไม่พร้อมกัน (0702/9608)
เงินชดเชยที่จ่ายให้เพราะเหตุออกจากงานกรณีเลิกจ้าง (ให้ออก) เงินชดเชยที่จ่ายทุกประเภท เช่น เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยง เงินชดเชยอื่นๆ ฯลฯ การคำนวณภาษีโดยใช้สิทธิแยกยื่นจากเงินเดือน ให้ใช้ได้ครั้งเดียวเฉพาะครั้งแรกที่มีการจ่ายเท่านั้น ในข้อหารือจะพบว่ามีการจ่ายเงินชดเชยไม่พร้อมกัน จ่ายคนละปี ในปีถัดมาจึงไม่สามารถใช้สิทธิแยกยื่นได้ เลขที่หนังสือ : กค 0702/9608 วันที่ : 26 ตุลาคม 2555 เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ข้อกฎหมาย : มาตรา 48(5) มาตรา 40(1) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือ กรณีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้รับในปีภาษีถัดไป โดยสรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้ 1. นาง จ. ออกจากงานในวันที่ 15 ธันวาคม 2553 โดยได้รับเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน 2 ประเภท คือ 1.1 เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จำนวนเงิน 1,449,497…
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจัดสวัสดิการค่าอาหาร (0702/3552)
การจัดสวัสดิการค่าอาหารโดยจ่ายเป็นเงินให้กับพนักงาน ถือเป็นประโยชน์เพิ่มจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) เลขที่หนังสือ : กค 0702/3552 วันที่ : 8 พฤษภาคม 2555 เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจัดสวัสดิการค่าอาหาร ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือ สหกรณ์ จัดสวัสดิการค่าอาหารให้แก่ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่และพนักงาน โดยจ่ายให้เป็นประจำพร้อมกับ การจ่ายเงินเดือน และจ่ายเฉพาะวันมาปฏิบัติงาน กรณีการจัดสวัสดิการค่าอาหารดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ แนววินิจฉัย การจัดสวัสดิการค่าอาหารดังกล่าว เป็นประโยชน์โดยตรงของพนักงานที่ไม่ต้องเสียเงินค่าอาหาร ถือเป็นประโยชน์ เพิ่มจากการจ้างแรงงาน ต้องนำไปรวมกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา เลขตู้ : 75/38127
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีเลิกจ้าง (0811/608)
สรุปได้ดังนี้ เงินได้ที่ได้รับจากการเลิกจ้าง (จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก) ที่จ่ายตามกฎหมายแรงงาน (เท่านั้น) ถึงจะมีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินส่วนที่เกินจากข้อแรก สามารถใช้สิทธิ์แยกยื่นแบบ ซึ่งในใบแนบจะหักค่าใช้จ่าย 7,000 x ปีที่ทำงาน ส่วนที่เหลือหักค่าใช้จ่าย 50% แล้วจึงนำไปคำนวณภาษี เงินที่ได้รับอื่นๆ (ที่ไม่ใช่เงินที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เช่น เงินเดือน ค่าตำแหน่ง ฯลฯ ค้างจ้าง) ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) คำนวณเสียภาษีตามปกติ เลขที่หนังสือ : กค 0811/608 วันที่ : 25 มกราคม 2544 เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1), มาตรา 48(5), มาตรา 50(1) ข้อหารือ นาย ก. ทำงานอยู่ที่บริษัท A….
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการถูกเลิกจ้าง (0706/6342)
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกรณีถูกเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ โดยสามารถใช้สิทธิแยกยื่น โดยคำนวณในใบแนบ ซึ่งจะหักค่าใช้จ่ายได้ 7,000 บาท x ปีที่ทำงาน เหลือเท่าไหร่ ให้หักค่าใช้จ่ายได้อีก 50% คงเหลือเป็นเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี เลขที่หนังสือ กค 0706/6342 วันที่ : 6 กรกฎาคม 2547 เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการถูกเลิกจ้าง ข้อกฎหมาย : มาตรา 48(5), มาตรา 50(1), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ข้อหารือ นาย ภ. อายุ 57 ปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานบริษัท ท. จำกัด มาแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 9 ปี บริษัทฯ ได้ออกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่กำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ต้อง เกษียณอายุการทำงานและรวมถึงลูกจ้างที่มีอายุครบ…