นายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ เงินค่าภาษีที่ออกให้ถือเป็นประโยชน์เพิ่ม ถือเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) ซึ่งลูกจ้างต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดยออกภาษีแทนในปีใด ให้ถือเป็นเงินได้ของปีนั้น จริงๆ แล้วเงินค่าภาษีถือเป็นเงินได้ของผู้รับ เพราะฉะนั้นกรณีมีภาษีขอคืน หรือเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ลูกจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 7/2528 เรื่อง การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณี คำว่า "เงินได้พึงประเมิน" ตามบทนิยามในมาตรา 39 และประเภทเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 เรื่อง การคำนวณค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2526 แต่ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะ…
Category: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อนุมัติปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2556
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรม และให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยสาระสำคัญของมาตรการดังกล่าวเพื่อเป็นการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิม 5 ขั้น เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดที่ร้อยละ 37 เหลือร้อยละ 35 สำหรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาฉบับใหม่ แบ่งเป็น – ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 0- 300,000 บาท กำหนดอัตราภาษีไว้ที่ร้อยละ 5 โดยในส่วนนี้กระทรวงการคลังจะกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีดังกล่าวสำหรับผู้มีเงินได้สุทธิ 0-150,000 บาทแรก โดยการตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีไว้เหมือนเช่นเดิมในลำดับต่อไป – ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท กำหนดอัตราภาษีไว้ที่ร้อยละ 10 – ผู้ที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 500,001-750,000 บาท กำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 15 จากเดิมที่ร้อยละ 20 – ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท กำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 20 – ผู้มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาท กำหนดอัตราภาษีที่ร้อยละ 25…
เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง (ให้ออกโดยพนักงานไม่มีความผิด) ยกเว้นไม่เกิน 300,000 บาท
เงินชดเชยที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ต้องเป็นเงินชดเชยที่จ่ายให้จากการเลิกจ้างเท่านั้น (ไม่ใช่กรณีพนักงานลาออกเอง แต่เป็นบริษัทให้พนักงานออก โดยพนักงานไม่มีความผิด) และต้องไม่ใช่กรณีเกษียณอายุ หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง สำหรับเงินชดเชยที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี 300,000 บาทนี้ ต้องเป็นการจ่ายชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เลขที่หนังสือ : กค 0706/515 วันที่ : 18 มกราคม 2550 เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการเกษียณอายุตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ข้อกฎหมาย : ข้อ 2(51) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126ฯ ข้อหารือ : นาย ก. ทำงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและได้เกษียณอายุเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยได้รับเงินชดเชยจากการเกษียณอายุ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน นาย ก. จึงขอทราบว่าเงินได้จากการเกษียณอายุซึ่งเป็นเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานดังกล่าวนั้น เข้าลักษณะเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน…
เงินชดเชยเพราะเหตุออกจากงาน ตามประกาศฉบับที่ 45
เงินได้ที่จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน กรณีจ่ายเงินชดเชยให้หลายครั้ง (ทะยอยจ่าย) ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิแยกยื่นได้ครั้งเดียวในปีภาษีแรกที่จ่ายเงินได้เท่านั้น ในปีภาษีถัดไปไม่สามารถใช้สิทธิแยกยื่นได้ เพิ่มเติม กรณีเป็นการเลิกจ้าง (ลูกจ้างไม่ได้ลาออกเอง) เฉพาะเงินชดเชยที่จ่ายตามกฎหมายแรงงาน (เท่านั้น) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ——————————————— อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้…
แนวปฏิบัติการแยกยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภริยา
การยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภริยาในปีภาษี 2555 จากเดิมเงินได้ของภรรยาให้ถือเป็นเงินได้ของสามี แต่ในปีภาษี 2555 เป็นต้นไป เงินได้ทุกประเภท (ทุกมาตรา) ของภรรยาไม่ถือเป็นเงินได้ของสามีอีกแล้ว จึงทำให้ภริยามีสิทธิแยกยื่นเสียภาษีในนามของตนเอง โดยไม่ต้องนำเงินได้ไปรวมกับสามีอีกแล้ว ยกเว้นว่าเป็นเงินได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการร่วมกันให้ยื่นเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแทน คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาตามมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการจำกัดสิทธิสามีและภริยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่า ไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง กรณีจึงขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติตามมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่ง ประมวลรัษฎากร จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน คือ ตั้งแต่วันที่ ๔…