การนับวันทำงานจะมีปํญหาเฉพาะพนักงานรายเดือน ที่ไม่ได้เข้างานต้นเดือน เท่านั้น ตัวอย่างเช่น พนักงานเข้างาน 5 มกราคม (เดือน มค.มี 31 วัน) พนักงานเข้างาน 11 กุมภาพันธ์ (เดือน กพ.มี 28 วัน) ขอพูดถึงเฉพาะในส่วนของเงินเดือนอย่างเดียวนะครับ ไม่รวมถึงการคำนวณโอที โดยวิธีการคำนวณเงินเดือน จะมีอยู่ 3 วิธี คือ 1.ฐาน30วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือเสมือนว่าเดือนหนึ่งมี 30 วัน (เนื่องจากกฎหมายแรงงานไม่ได้บัญญัติไว้) 2.ฐานตามจริง (นับวันทำงานจริง) เช่น เดือน มค.มี 31 วันก็ใช้ฐาน 31 วัน เดือน กพ.มี 28 วัน ก็ใช้ฐาน 28 วัน เดือน มิย.มี 30 วัน ก็ใช้ฐาน 30 วัน 3.วิธีตามกฎหมาย (ตามช้อ…
Category: บทความทำเงินเดือน
วิธีคำนวณภาษีเงินได้ประเภทเงินเดือนค่าแรง
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543 เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้และผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ 1 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้ (1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้ (ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12 (ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24 …
งวดการตัดเงินเดือนและโอที
ปัญหาในการจัดทำเงินเดือนและค่าแรง เรื่องสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาคือ งวดการตัดเงินเดือน-ค่าแรง และงวดการตัดค่าล่วงเวลา (โอที) เพราะมีผลต่อการจัดทำเงินเดือนค่อนข้างมากและเพื่อลดความยุ่งยากในการจัดทำลง ซึ่งเกี่ยวพันกับการบันทึกบัญชีด้วย ตามปกติเงินเดือนมักจะออกในวันสิ้นเดือน ตอนที่ผมเข้าทำงานบริษัทใหม่ในเดือนแรก ก็มักจะพบว่าได้เงินเดือนไม่ครบทั้งๆ ที่เราเข้าทำงานในวันที่ 1 ของเดือน สมมติว่าเงินเดือน 30,000 บาทนะครับ พอไปกดเงินอาจจะได้มาเพียง 20,000 บาท ถ้าเค้าให้ Siip มาด้วยก็จะพบว่า วันทำงานมีเพียง 20 วันเท่านั้น เรามาดูเหตุผลกันนะครับ เนื่องจากในขั้นตอนการจ่ายเงินเดือนมีกระบวนการในการจัดทำ เป็นไปไม่ได้ที่ทำงาน 30 วัน แล้วต้องได้เงินเดือน 30 วัน คิดง่ายๆ ดูนะครับ พอคุณมาทำงานวันที่ 30 เค้าก็จ่ายเงินให้เลย 30 วันทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่า วันนี้เราจะมาทำงานหรือเปล่า หรือเมื่อวานลาหยุดไป เช้ามายังไม่ได้เขียนใบลาเลย ทำไมได้เงินเดือนครบ 30 วัน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากบริษัทส่วนใหญ่มักจะตัดวันทำงานก่อน 30 วัน คือจะตัดวันทำงานถึงวันที่ 20 เท่านั้น (บางแห่งอาจจะตัดถึงวันที่ 25…
การแจ้งประกันสังคม กรณีพนักงานลาออก
ผมเองทำงานด้านบัญชีและต้องรับผิดชอบในการทำเงินเดือนพนักงาน ใช้งานโปรแกรมบัญชีและโปรแกรมเงินเดือนมาหลายตัว วันนี้ขอเล่าถึงปัญหาในการจัดทำเงินเดือนพนักงานในกรณีพนักงานลาออกในส่วนที่เกี่ยวกับประกันสังคมนะครับ โดยปกติพนักงานเข้าใหม่เมื่อคีย์ข้อมูลลงไปในโปรแกรมและระบุวันที่เข้า งาน คุณก็สามารถพิมพ์รายงานนำส่งประกันสังคม สปส.1-03 และ สปส.1-03/1 ได้เลยไม่มีปัญหาอะไร ไม่จำเป็นต้องประมวลผลหรือปิดงวดก่อน แต่ในกรณีที่พนักงานลาออกนี่สิ หลายโปรแกรมที่ผมใช้เมื่อคุณบันทึกพนักงานรายวันลาออก โปรแกรมจะตัดรายชื่อของพนักงานคนนี้ออกทันที จะไม่มีการจ่ายเงินให้ในงวดนั้น ถึงแม้ว่าจะมีวันทำงานที่ยังต้องจ่ายอยู่ ซึ่งผมเองก็ต้องบอกว่า ถูกต้องแล้ว (เพื่อความปลอดภัยในการทำงานควรจะเป็นแบบนั้น) เพราะฉะนั้นถ้าในงวดการจ่ายที่มีพนักงานลาออกและยังมีค่าจ้างค้างจ่ายอยู่ การบันทึกพนักงานลาออกก็ต้องไปคีย์ในงวดการจ่ายถัดไป ผมขอยกตัวอย่างนะครับ งวดการจ่ายค่าจ้างงวดวันที่ 15/10/2551 งวดการตัดค่าจ้างและโอทีวันที่ 21/09/2551 – 05/10/2551 นาย ก.ลาออกจากงานในวันที่ 29 กันยายน เพราะฉะนั้น นาย ก.ยังมีค่าจ้างค้างจ่ายอยู่ 9 วัน (21-29 กย.) รวมทั้งโอทีด้วย ที่ต้องจ่ายให้ในวันที่ 15 ตค. ดังนั้นเมื่อยังมีค่าแรงค้างจ่ายอยู่ ผมก็ยังไม่สามารถคีย์บันทึกพนักงานลาออกในงวดนี้ได้ (15 ตค.) ต้องไปบันทึกในงวดถัดไปคืองวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ 31 ตค. ซึ่งก็จะทำให้คุณไม่สามารถพิมพ์รายงาน สปส.6-09 (แจ้งพนักงานลาออก) ได้ในงวดนี้ได้ ต้องไปพิมพ์ในงวดถัดไป…