Marnit Aongphisud ได้โพสต์ไปจากบริเวณ Bangkok เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ก.ค. 2556 ว่า "เรียนอาจารย์สุเทพครับ รบกวนสอบถามอาจารย์สุเทพประเด็นค่าใช้จ่ายก่อนการจัดตั้งกิจการ กรณีที่ผู้ถือหุ้นได้จ้างให้สำนักงานกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการให้ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกิดขึ้นก่อนที่บริษัทฯจะจัดตั้งเสร็จเรียบร้อย ซึ่งสำนักงานกฎหมายได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมก่อตั้งบริษัทฯแล้ว ประเด็นคำถามครับ เอกสารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเปิดบริษัทฯเป็นใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินที่ออกในนามผู้ถือหุ้นและผู้เริ่มก่อการ อยากทราบว่าเอกสารดังกล่าวสามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ครับ หรือมีข้อควรระวังเรื่องเอกสารหลักฐานเป็นพิเศษหรือเปล่าครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับความรู้ และความคิดเห็นที่อาจารย์แบ่งปันนะครับ — กับ Kamolthip Katutat" เรียน Marnit Aongphisud ประเด็นรายจ่ายก่อนการจัดตั้งกิจการบริษัทฯ หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการ บริษัทฯ ก็สามารถนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการได้เช่นเดียวกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทฯ และในทางภาษีอากรก็ใช้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการพิจารณารายจ่ายที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียเงินได้นิติบุคคลเช่นเดียวกับรายจ่ายในการดำเนินกิจการทั่วไป กล่าวคือ 1. ต้องพิจารณาแยกให้ได้ว่า รายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน หรือเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการทั่วไป หากเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนก็ย่อมต้องคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคานับแต่วันที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น เฉพาะส่วนที่เป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคมในช่วงเวลาก่อนที่จะได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ เท่านั้น ที่สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายได้ เมื่อจัดตั้งบริษัทฯ เรียบร้อยแล้วก็ให้คิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต่อเนื่องไป 2. สำหรับรายจ่ายในการดำเนินกิจการให้นำหลักเกณฑ์ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ (1)…
Category: อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
เงินมัดจำค่ารถต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่
คุณ Pattama Wadee ได้โพสต์ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 12 ก.ค. 2556 ว่า “สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ รบกวนเรียนปรึกษานะคะ 1. กรณีกิจการขายรถยนต์ เวลารับเงินค่าจองรถ ซึ่งค่าจองรถนั้นไปหักกับค่ารถ ณ วันที่ออกรถ คำถามคือ ค่าจองรถต้องออกใบกำกับภาษีขายหรือไม่คะ และกรณีถ้าไม่ได้ออก แต่นำไปออก ยอดรวมในราคารถ ณ วันที่ออกรถเลย สามารถทำได้หรือไม่คะ 2. กรณีกิจการ เพิ่มสาขาที่ 2 ซึ่งสาขาที่ 1 เคยทำเรื่อง ขอยื่นรวมกับสำนักงานใหญ่ ไม่ทราบว่า สาขาที่ 2 กิจการต้อง ทำเรื่องขอยื่นรวมกับสำนักงานใหญ่อีกหรือไม่คะ รบกวนอาจารย์อีกแลัวนะคะ ขอบคุุณนะคะ” เรียน คุณ Pattama Wadee 1. เกี่ยวกับการับเงินจองรถยนต์ ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายรถยนต์ดังกล่าว กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามข้อ 5 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 36/2536 ดังนี้ “(2) ในกรณีเงินชำระล่วงหน้าเป็นเงินค่าสินค้าที่ได้ชำระบางส่วนหรือเป็นเงินจองหรือเงินมัดจำที่ไม่เข้าลักษณะตาม…
ใบลดหนี้ที่มีข้อความไม่ถูกต้องใช้ลดภาษีซื้อได้หรือไม่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือเลขที่ กค 0706/พ./2067 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2549 เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้เนื่องจากการคืนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้า ดังนี้ ข้อหารือ : บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมประเภทผลิตอาหารสัตว์ การทำฟาร์มสัตว์เลี้ยงและการแปรรูปเนื้อสัตว์ให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทฯ ได้ซื้อสินค้ากุ้งแปรรูปแช่แข็งจากบริษัทในเครือซึ่งประกอบด้วยบริษัท ก. จำกัด บริษัท ข. จำกัด และบริษัท ค. จำกัด โดยบริษัทฯ ซื้อสินค้าดังกล่าวเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศในนามบริษัทฯ และเนื่องจากการส่งออกสินค้ากุ้งแปรรูปแช่แข็งไปขายในต่างประเทศจะต้องมีเอกสารการรับรองสินค้า Certificate จากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศรับรอง ดังนั้น การซื้อขายสินค้าดังกล่าวระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทในเครือทั้งสาม ได้มีข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายระหว่างกันกำหนดว่า หากภายหลังที่ซื้อขายสินค้าดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศได้ เนื่องจากยังมิได้รับหนังสือรับรองสินค้าในนามบริษัทฯ บริษัทในเครือทั้งสามจะรับคืนสินค้าดังกล่าว และดำเนินการส่งออกสินค้าเอง เนื่องจากบริษัทในเครือทั้งสามมีเอกสารหนังสือรับรองในการส่งออกสินค้าไปขายในต่างประเทศ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. กรณีบริษัทฯ ซื้อสินค้ามาจากบริษัทในเครือทั้งสาม และได้คืนสินค้าให้แก่บริษัทในเครือทั้งสามตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว บริษัทในเครือทั้งสามมีสิทธิออกใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่…
จุดรับผิดชอบทางภาษีและการรับรู้รายได้จากการส่งออก
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล "กิจการ" เป็นผู้ขายสินค้าโดยการส่งออกทางเรือเดินทะเล และได้มีการผ่านพิธีการทางศุลกากรโดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร นั้น ขอลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในทางบัญชีและภาษีอากรดังนี้ 1. กรณีกิจการได้รับคำสั่งซื้อ (P/O: Purchase Order) จากผู้ซื้อในต่างประเทศ ยังไม่ถือว่ากิจการมีการขายสินค้าโดยการส่งออกแต่อย่างใด 2. กิจการได้ออกใบตราส่งสินค้า (Performa Invoice) เพื่อนำไปใช้ประกอบการขออนุมัติส่งออกต่อเจ้าพนักงานกรมศุลกากร ณ จุดนี้ก็ยังไม่ถือว่ากิจการมีการขายสินค้าโดยการส่งออกเช่นเดียวกัน 3. กิจการขนย้ายสต๊อกสินค้าไปยังท่าเรีอเพื่อเตรียมการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เนื่องจากยังไม่มีการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า จึงยังไม่ถือเป็นการขาย แต่มีการเคลื่อนย้ายสต๊อกออกจากคลังสินค้า กิจการจึงต้องบันทึกตัดสินค้าที่เตรียมการส่งออกจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ แต่เนื่องจากกิจการยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ จึงต้องบันทึกรายการสินค้าไว้ในบัญชีสินค้าระหว่างทาง (Goods in Transit) 4. กิจการดำเนินพิธีการทางศุลกากร มีเอกสาร "ใบขนสินค้า" เกิดขึ้น ณ จุดนี้มีผลต่อระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ (1) ถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผลให้กิจการได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% (2) กิจการต้องบันทึกรายงานภาษีขาย ด้วยราคา เอฟ.โอ.บี. ตามมาตรา 79/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร –…
การหักค่าใช้จ่ายตามจริงของเงินได้บุคคลธรรมดาต่างมาตรา
ประเด็นการนำผลขาดทุนของประเภทเงินได้หนึ่งไปหักกลบกับเงินได้พึงประเมินอีกประเภทเงินได้หนึ่ง นั้น ผมเคยได้อ่านตำราของท่านศาตราจารย์ไพจิตร โรจนวนิช เล่มเก่าๆ นานมากแล้ว ได้ความว่าเป็นแนวทางวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่ไม่อนุญาตให้ผู้มีเงินได้่ที่ประกอบกิจการหลายประเภทเงินได้ หรือประเภทที่ 8 ด้วยกันแต่มีหลายรายการเงินได้ซึ่งกำหนดให้เลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ว่า หากเลือกหักค่าใข้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรหรือค่าใช้จ่ายจริงแล้วเกิดเป็นผลขาดทุนในบางประเภทเงินได้จะนำผลขาดทุนนั้นไปหักกลบกับเงินได้ประเภทอื่นไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ครั้นพอได้อ่านฉบับปัจจุบันไม่พบปัญหาดังกล่าวแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนต้วผมยังคงเห็นได้กับแนวความคิดข้างต้นดังนี้ 1. กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำแนกประเภทเงินได้ออกเป็น 8 ประเภทตามมาตรา 40 (1) – (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในบางประเภทเงินได้พึงประเมิน เช่น เงินได้ตามมาตรา 40 (5)(ก) หรือ (6) และโดยเฉพาะ (8) แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการเงินได้ที่กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาแตกต่างกันไปหลายการ ซึ่งในแต่ละรายการเงินได้พึงประเมินหรือเงินได้พึงประเมินประเภทเดียวกันนั้น ผู้มีเงินได้มีสิทธิที่จะเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรหรือค่าใช้จ่ายจริงอย่างไรก็ได้ 2. การจำแนกประเภทเงินได้ก็ด้วยมุ่งหวังที่จะแยกคำนวณภาษีเงินได้ตามหลักความสามารถเป็นรายประเภทเงินได้ 3. ตามเจตนารมณ์ของการกำหนดให้เลือกหักค่าใช้จ่ายก็เพื่ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในการเสียภาษี เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้มีเงินได้ต้องจัดทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน ซึ่งต่างจากการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น นอกจากต้องจัดทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารหลักฐานตามมาตรฐานการบัญชีหรือหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว มิได้มีการจำแนกประเภทรายได้ออกเป็นประเภทโดยละเอียดตามที่มาหรือบ่อเกิดของเงินได้ดังเช่นกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่จำแนกตามลักษณะกว้างๆ คือ รายได้จากกิจการและรายได้เนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น 4. การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามุ่งที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้เป็นรายปีภาษี ให้จบสิ้นไปในแต่ละปีภาษี จึงกำหนดให้มีการเปรียบเทียบจำนวนเงินภาษีที่คำนวณได้จากวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ (ตามหลักความสามารถ) และการคำนวณจากเงินได้พึงประเมิน (ตามหลักความมั่งคั่ง)…