ผมมักได้รับการสอบถามเรื่องการนับอายุการทำงานต่อเนื่อง กรณีย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากบริษัทเก่าไปยังบริษัทใหม่เนื่องจากได้ลาออกจากงาน ว่าสามารถนับอายุงานการทำงานต่อเนื่องกันได้หรือไม่ ซึ่งการนับอายุการทำงานต่อเนื่องจะทำให้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนกรณีทำงานมากกว่า 5 ปี หักลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่งและยังใช้สิทธิแยกยื่นภาษีระหว่างเงินเดือนกับเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วย จากข้อหารือจะพบว่า ไม่สามารถนับอายุการทำงานต่อเนื่องได้ครับ กรณีที่จะนับอายุสมาชิกของกองทุนต่อเนื่องได้ (ไม่ใช่อายุการทำงานต่อเนื่อง) ต้องเป็นกรณีเกษียณอายุเท่านันครับ เช่น ทำงานแค่ 4 ปี (แต่ครบเกษียณอายุ) และเป็นสมาชิกกองทุนมาต่อเนื่องจากทุกบริษัทแล้วรวมกันครบ 5 ปีพอดี แบบนี้ถึงจะเข้าหลักเกณฑ์ครับ เลขที่หนังสือ : กค 0702(กม.05)/2733 วันที่ : 18 ธันวาคม 2551 เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับในปีภาษีอื่นที่มิใช่ปีที่ออกจากงาน ข้อกฎหมาย : มาตรา 48(5) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 45) ข้อหารือ นาย จ. มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานและเลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่น ขอคืนภาษี…
Category: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ให้ของขวัญปีใหม่แก่พนักงาน ต้องทำอย่างไร
กรณีที่นายจ้างได้ให้ของขวัญปีใหม่แก่พนักงานประจำปี และได้กำหนดไว้เป็นระเบียบสวัสดิการพนักงาน ไม่ว่าจะให้ทุกคนหรือให้เฉพาะบางคนก็ตาม ไม่ว่าจะให้เป็นเงินสด บัตรกำนัล สินค้า สิ่งที่ต้องทำคือ 1.ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานตามมาตรา 40 (1) ถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่ได้รับ 2.นายจ้างมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ยื่นแบบรวมกับเงินเดือน ภงด.1) 3.นายจ้างสามารถนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม 4.หากนายจ้างเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญดังกล่าวขอคืนหรือเครดิตภาษีขายได้ไม่ต้องห้าม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายจ้างได้มอบของขวัญให้แก่พนักงาน ถือว่านายจ้างขายสินค้าให้แก่พนักงานต้องนำส่งภาษีขายด้วย 5.ถ้านายจ้างให้ของขวัญแก่พนักงานจะต้องเสียภาษีขาย ถือเป็นการขายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าให้เป็นเงิน บัตรกำนัล หรือสินค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น หนังสือ ตำรา ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 ข้อ 2 (10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า โดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร http://www.rd.go.th/publish/3568.0.html 7.เมื่อถือเป็นรายจ่ายของนายจ้าง ก็ต้องถือเป็นรายได้ของพนักงานด้วย และหากไม่ต้องการเสียภาษีขาย ก็ควรให้เป็นเป็นเงินสด บัตรกำนัล…
เงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับการยกเว้นภาษีในปัจจุบัน
อัพเดตข้อมูลล่าสุดตามเว็บของกรมสรรพากรแล้ว เงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับการยกเว้นภาษีจะมีอยู่หลายข้อมาก และมักจะมีเพิ่มทุกปี มีเพิ่มข้อใหม่ หรือมีปรับปรุงค่าลดหย่อนใหม่ บางข้อหมดอายุลง เนื่องจากยกเว้นภาษีให้ปีเดียว เป็นต้น เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี? (อัพเดทล่าสุดของปี 2554 ไม่รวมของปีปัจจุบัน) เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี มีอยู่หลายกรณีที่สำคัญๆ ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับต่างๆ เป็นต้น เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีดังนี้ 1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือ ค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงาน ให้ได้จ่ายไปโดยสุจริต ตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมด ในการนั้น 2. ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง 3. เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างสิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการย้ายกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง 4. ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ…
จัดงานเลี้ยงปีใหม่ ซื้อของขวัญให้พนักงานจับสลาก ถือเป็นเงินได้พึงประเมินหรือไม่
เกี่ยวกับการจัดงานเลี้ยงปีใหม่ ซึ่งมักจะเกิดประเด็นปัญหาที่ต้องพิจารณาในทางภาษีอากร คือ ประเด็นที่ 1 การจัดหาอาหาร เครื่องดื่ม ดนตรีและกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ ประกอบการจัดงานนั้น บริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ และสามารถเครดิตภาษีซื้อได้หรือไม่ รวมถึงการได้เข้าร่วมงานเลี้ยงปีใหม่ของลูกจ้างนั้น ต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างซึ่งทำให้ลูกจ้างต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้มีคำวินิจฉัยในหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรว่า บริษัทสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ และภาษีซื้อขอสามารถขอเครดิตคืนได้ ส่วนพนักงานที่เข้าร่วมงานเลี้ยงปีใหม่ได้รับยกเว้นภาษี และประเด็นที่ 2 หากบริษัทมีการซื้อของขวัญปีใหม่ให้พนักงาน หรือซื้อของขวัญให้พนักงานจับฉลาก บริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่ และสามารถเครดิตภาษีซื้อได้หรือไม่ และต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างซึ่งทำให้ลูกจ้างต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้มีคำวินิจฉัยในหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรว่า บริษัทนำหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ แต่ตัวพนักงานเองต้องนำมูลค่าของขวัญมาเสียภาษีและถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานในการคำนวณภาษีประจำปี นอกจากนี้บริษัทต้องนำส่งภาษีขายด้วย
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีซื้อบ้านหลังแรก
นายสมชาย นิลยาภรณ์ สรรพากรพื้นที่ตราด แจ้งว่าได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๒๘) พ.ศ.๒๕๕๔ กำหนดหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกินห้าล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นจำนวนเท่ากับภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการคำนวณเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้มีเงินได้จะได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวดังนี้ 1. ต้องจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดในระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิในช่วงเวลาดังกล่าว 2. ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกภายในห้าปีนับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ และต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลาห้าปีภาษีต่อเนื่องกันโดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเป็นจำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปีภาษี 3. ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยมาก่อน 4. ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิมาก่อน 5 ต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ๖. ต้องไม่เคยเป็นผู้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔๑ (พ.ศ. ๒๔๔๖) และ ฉบับที่ ๒๗๑ (พ.ศ. ๒๔๔๒) อ้างอิงพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 528 พศ.2554 ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 241…